FDA อนุมัติให้ยา Atezolizumab เป็นยาต้านมะเร็งตัวแรกของการรักษาแบบ Immunotherapy ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

โดย Boontharika Boonchaisaen

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเตรียมเฮ เพราะเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA) อนุมัติให้ยา Atezolizumab  หรือมีชื่อการค้าว่า Tecentriq เป็นยามะเร็งตัวแรกของการรักษาแบบ Immunotherapy หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเฉพาะที่และไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามไปอวัยวะต่างๆ แบบ Triple negative breast cancer (TNBC) ที่มีโปรตีน PD-1

มาทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านมกันก่อนดีกว่า

มะเร็งเต้านมหรือ Breast Cancer เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียงเช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ

จากข้อมูล national breast cancer.org รายงานว่า มะเร็งเต้านมสามารถพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง 1 %  ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด

ขอบคุณภาพจาก https://www.nationalbreastcancer.org/male-breast-cancer

มะเร็งเต้านมระยะลุกลามเฉพาะที่ต่างจากระยะแพร่กระจายอย่างไร

มะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ (Locally advanced cancer) หมายถึง มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตออกไปนอกอวัยวะนั้นๆ แล้ว แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น  มะเร็งเต้านมที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ของท่อน้ำนม แต่สามารถแพร่ทะลุผนังของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อไขมันภายในเต้านม

ส่วนมะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) หมายถึง มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นในร่างกายรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณที่ไกลจากมะเร็งตำแหน่งแรกที่พบ ซึ่งเซลล์มะเร็งมักไปยังส่วนอื่นทางกระแสเลือด หรือทางเดินน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย

มะเร็งเต้านมแบบ Triple negative คืออะไร

มะเร็งเต้านมแบบ triple negative หมายความว่าเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ตรวจได้ผลลบกับทั้ง 3 ตัวรับพบได้มากที่สุดที่ทำให้การเจริญเติบโตของมะเร็งมากสุด ตัวรับพวกนี้ได้แก่ hormonal epidermal growth factor receptor 2 (HER-2), estrogen receptors (ER) และ progesterone receptors (PR) ดังนั้น การรักษาทั่วไปของมะเร็ง เช่น การทดแทนด้วยฮอร์โมนหรือยาที่เจาะจงกับตัวรับทั้ง 2 ตัวนี้ จะรักษาไม่ได้ผลนั่นเอง

กลไกการทำงานของยา Atezolizumab

Atezolizumab เป็น humanized monoclonal non-glycosylated IgG1 kappa antibody ออกฤทธิ์ต่อ PD-L1 จึงขัดขวาง PD-L1 ไม่ให้จับกับ PD-1

และเซลล์เนื้อมะเร็งเองก็มีการปรากฏของ PD-L1 อย่างมากมายทำให้จับกับ PD-1 บน T cells ได้มากเป็นเหตุให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกลดลง

ดังนั้นจึงมีการคิดค้นยาเพื่อขัดขวางเพื่อ PD-L1 ไม่ให้จับกับ PD-1 ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับมาทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งได้อีกครั้ง

ขอบคุณภาพจาก https://www.tecentriq-hcp.com/urothelial-carcinoma/tecentriq-moa.html

จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด Triple negative breast cancer (TNBC) ที่มีการปรากฏของ PD-L1 โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้ยา Atezolizumab ร่วมกับยา  Paclitaxel protein-bound เทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก ร่วมกับยา  Paclitaxel protein-bound

พบว่า กลุ่มที่ได้ยา Atezolizumab ร่วมกับยา  Paclitaxel protein-bound มีเวลาของการมีชีวิตอยู่โดยไม่มีการดำเนินโรคที่ยาวนานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ขนาดการใช้ยา Atezolizumab ในผู็ป่วยมะเร็งเต้านม

ขอบคุณรูปภาพจาก medscape

สูตรการรักษาแนะนำให้ใช้ยา Atezolizumab ร่วมกับยา  Paclitaxel protein-bound โดยขนาดการรักษา คือ ยา Atezolizumab 840 mg intravenous infusion over 60 minutes, ตามด้วยยา paclitaxel protein-bound  (100 mg/m²) ทุก 28 วัน โดยให้ยา Atezolizumab ในวันที่ 1 และ 15 ส่วนยา paclitaxel protein-bound จะให้วันที่ 1  8 และ 15 จนกว่าอาการของโรคดีขึ้น หรือเกิดพิษจากยา

อาการข้างเคียงของยา Atezolizumab

อาการข้างเคียงโดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผมร่วง , มึนชาตามปลายมือปลายเท้า, เหนื่อยเพลีย, คลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย, โลหิตจาง, ท้องผูก, ไอ, ปวดศีรษะ, กดไขกระดูก และเบื่ออาหาร เป็นต้น

cancer patient

อย่างไรก็ตาม ข่าวดีนี้ถือว่าเป็นความหวังใหม่ของวงการแพทย์ไทยเลยทีเดียว ส่วนราคาจะสูงแค่ไหนต้องติดตามตอนต่อไปค่ะ…

อ่านข้อมูลยา Atezolizumab เพิ่มเติมได้ที่นี่

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : FDA approves atezolizumab for PD-L1 positive unresectable locally advanced or metastatic triple-negative breast cancerTECENTRIQ Proposed Mechanism of Actionhttps://www.breastcancer.org,  https://www.chulacancer.net   

Facebook Comments

You may also like