ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

โดย Boontharika Boonchaisaen

Office syndrome (OFS) เป็นกลุ่มอาการของ myofascial pain syndrome ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด พบได้ถึงร้อยละ 60-70 ของผู้ที่ทำงานในออฟฟิศ โดยทั่วไปมักมีอาการปวดศีรษะ คอ บ่า ไหล่ หลัง ข้อมือและนิ้ว นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมที่อาจพบได้อีก เช่น อ่อนเพลีย เครียด และสมาธิลดลง

วิธีรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น

  • การรักษาด้วยยา
  • การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกายเพื่อรักษาปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
  • การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย การรักษาด้วยคลื่นกระแทก เป็นต้น

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม มีดังนี้

  1. ยารับประทาน ยกตัวอย่างเช่น

diclofenac1

  • Paracetamol (พาราเซตามอล)
  • ยาบรรเทาปวด ลดอักเสบที่ไม่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs(เอ็นเสด) เช่น Ibuprofen, Diclofenac, Meloxicam, Celecoxib
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือ muscle relaxants เช่น Paracetamol+Orphenadrine, Tolperisone
  1. ยาบรรเทาปวดชนิดทาภายนอก (topical analgesics)ในปัจจุบันยานวดหรือยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อนั้น มีให้เลือกใช้หลากหลายแบบด้วยกัน อาทิเช่นแบบเจล, แบบครีม, แบบน้ำ, แบบสเปรย์พ่น หรือแบบแผ่นแปะ โดยมักมีส่วนผสมต่างๆ ดังนี

ขอบคุณภาพจาก https://www.tigerbalm.com/th/symptoms/neck-and-shoulder-pain-relief/tiger-balm-plaster-cool/

  • NSAIDs (เอ็นเสด) นิยมนำมาใช้ในยาทาแก้ปวด เช่น Diclofenac (ไดโคลฟีแนค), Piroxicam (ไพร็อกซิแคม), Ibuprofen            (ไอบูโพรเฟน)
  • Methyl salicylate (เมทิลซาลิไซเลต) จะมีฤทธิ์ลดอาการปวด ให้ความรู้สึกร้อน ช่วยคลายอาการปวดได้ดี เพราะสามารถซึมผ่านผิวหนังได้อย่างอิสระและออกฤทธิ์ลดอาการปวดบริเวณที่มีอาการได้
  • Menthol (เมนทอล) มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยให้อาการปวด บวม แดงจะบรรเทาลง
  • อื่น ๆ เช่น Aescin (เอสซิน)ช่วยลดลดอาการบวม, Camphor (การบูร) ช่วยแก้อาการปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยาในการรักษา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรร่วมด้วย เนื่องจากหากผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs อาจจำเป็นต้องซักประวัติและพิจารณาเลือกใช้ยาให้ละเอียดและถูกต้อง เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำ

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบางรายมีประวัติแพ้ยา Ibuprofen  การเลือกใช้ยาแก้ปวด อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยา naproxen เนื่องจากเป็นยาที่มีโครงสร้าง Arilpropionic acids เช่นเดียวกันกับ Ibuprofen เป็นต้น

เรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : ศูนย์แพ้ยา โรงพยาบาลศิริราช, Medical leaders thailand

Facebook Comments

You may also like