FDA เตือน การใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก(Dissecting aortic aneurysm)ได้

โดย Boontharika Boonchaisaen
Fluoroquinolones warning

เวลาท้องเสียหรือรู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ เรามักจะเห็นแพทย์จ่ายยา Norfloxacin หรือ Ciprofloxacin ให้เอากลับไปรับประทานที่บ้าน แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FDA มีประกาศเตือนว่า พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และมีการศึกษาแบบสังเกต(Observational study) 4 การศึกษา กล่าวถึง

FDA warning

การใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm) มากขึ้นได้”

เรามาทำความรู้จักยากลุ่ม Fluoroquinolones กันก่อนดีกว่า

 

Fluoroquinolones เป็นกลุ่มยาต้านแบคทีเรียที่ครอบคลุมเชื้อได้กว้างขวาง (broad-spectrum antibacterials) ใช้รักษาโรคติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทั้งระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบทางเดินหายใจ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น norfloxacin, ciprofloxacin, levofloxacin, moxifloxacin เป็นต้น

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก(Dissecting aortic aneurysm) คืออะไร

Aortic dissection

ขอบคุณภาพจาก https://medlineplus.gov/ency/article/000181.htm

หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นท่อนำเลือดแดง จากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจ ขึ้นไปยังยอดอกแล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านกระบังลมเข้าไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา ข้าง

ดังนั้น หากมีพยาธิสภาพหรือความผิดปกติเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงใหญ่ย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่างๆ ได้ หรือ หากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก(Dissecting aortic aneurysm) จะทำให้เสียชีวิตได้

การศึกษาเรื่องการใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones และความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm)

ตัวอย่างการศึกษาเรื่องการใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones และความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm) ซึ่งศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones เทียบกับกลุ่มที่ใช้ยา Amoxicillin พบว่า

กล่มที่ใช้ยา Fluoroquinolones มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm) มากกว่า ตามรูปด้านล่าง

อุบัติการณ์ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm) ภายใน 60 วันหลังจากเริ่มการรักษาเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม Fluoroquinolones และ Amoxicillin

อย่างไรก็ตาม ในหลายการศึกษาอาจยังมีข้อจำกัดอยู่ FDA จึงยังไม่ได้ยืนยันว่ายากลุ่ม Fluoroquinolones เป็นสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองและฉีกขาด (Dissecting aortic aneurysm) ดังนั้น ยังคงสามารถใช้ได้ แต่ควรระวังเป็นพิเศษในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง( Peripheral atherosclerotic vascular diseases), โรคความดันโลหิตสูง(hypertension), Marfan syndrome, Ehlers-Danlos syndrome และผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ค่ะ

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : www.bmj.comFDA: Fluoroquinolones Linked to Increased Risk of Aortic Aneurysm or Dissection,  www.fda.gov

Facebook Comments

You may also like