ผู้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้

โดย Boontharika Boonchaisaen

ตอนนี้ข่าววงการแพทย์ที่กำลังเป็นกระแสกันมากมายในโลกโซเชียล คงหนีไม่พ้น กัญชา กัญชา เป็นยาวิเศษ” รักษาโรคได้ครอบจักรวาล รวมถึงโรคมะเร็งด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็มีแพทย์บางท่านออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากมาย บ้างก็บอกรักษาได้จริง บ้างก็บอกรักษาไม่ได้ ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน ดังนั้น ก่อนเชื่อแล้วแชร์ อยากให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

แต่ถ้าใครไม่อยากเป็นมะเร็ง และไม่ต้องพึ่งกัญชา หันมาดูแลสุขภาพ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กันดีกว่านะคะ เพราะรู้หรือไม่ว่า การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้

รู้หรือไม่? การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้

มีรายงานข่าวจากสำนักข่าว Healthday เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา รายงานว่า คนที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้

นักวิจัยจาก Tufts University ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ กับความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง พบว่า ในปี 2015 ประชากรมากกว่า 80,000 ราย ป่วยเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามรายใหม่ หรือประมาณ 5% ของประชากรสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในปีนั้น ถือเป็นตัวเลขที่น่ากลัวมากทีเดียว

ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง มีอะไรบ้าง

จากการศึกษาดังกล่าว พบความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง ดังนี้

  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดมะเร็ง ประมาณ 4%-6% ของผู้ป่วยทั้งหมด
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่น้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนกับการเกิดมะเร็ง  ประมาณ 7%-8%ของผู้ป่วยทั้งหมด
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ไม่ชอบทำกิจกรรมอื่นๆเช่น ออกกำลังกายกับการเกิดมะเร็ง ประมาณ 2%-3%ของผู้ป่วยทั้งหมด

alcohol

มะเร็งชนิดใด ที่พบมากในผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

ผลการศึกษานี้รายงานว่า มะเร็งที่พบมากในผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เรียงตามลำดับ ดังนี้

  1. มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) พบประมาณ 38% ของผู้ป่วยทั้งหมดหรือมากกว่า 52,200 ราย
  2. มะเร็งในช่องปาก (Oral Cancer) พบมากกว่า 14,400 รายของผู้ป่วยทั้งหมด
  3. มะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) พบมากกว่า 3,200 รายของผู้ป่วยทั้งหมด
  4. มะเร็งเต้านมในหญิงวัยหมดประจำเดือน (ฺBreast cancer in postmenopausal women) พบมากกว่า 3,000 รายของผู้ป่วยทั้งหมด
  5. มะเร็งไต (Kidney cancer) พบประมาณ 2,000 รายของผู้ป่วยทั้งหมด
  6. มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer) พบประมาณ 1,600 รายของผู้ป่วยทั้งหมด
  7. มะเร็งตับ (Liver cancer) พบประมาณ 1,000 รายของผู้ป่วยทั้งหมด

และจากสถิติของสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งโลกก็พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทปิ้ง ย่าง และรมควัน, อาหารไขมันสูง, อาหารแปรรูป และอาหารปรุงแต่ง, อาหารปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตราย, อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง, อาหารที่มีเชื้อราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เน้นรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เกิดความสมดุลควบคู่กันไปด้วย เพียงเท่านี้ คุณก็จะไม่จำเป็นต้องพึ่งสมุนไพรตัวใด และห่างไกลจากคำว่า “มะเร็ง” แล้วล่ะค่ะ

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : WebMd, Better Health Magazine

Facebook Comments

You may also like