FDA ยอมรับยา Epidiolex ยาที่ผลิตจากกัญชาอย่างถูกกฎหมายในอเมริกา เพื่อใช้รักษาในผู้ป่วยลมชัก

โดย Boontharika Boonchaisaen

โรคลมชัก(Epilepsy) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าลมบ้าหมู เป็นโรคท่ีเกิดจากภาวะผิดปกติของสมอง โดยเกิดจากการปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าท่ีผิดปกติออกมาชั่วครู่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติและแสดงอาการโดยการชัก(seizures) เช่น การชักเกร็งกระตุกทั้งตัว และหมดสติ โดยอาการดังกล่าวจะเป็นๆ หายๆ ในระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1-3 นาทีและมีอาการเกิดซ้ำมีลักษณะคล้ายเดิม โดยพบประมาณ 4 -10 คน ในประชากรหนึ่งพันคน

ยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก ในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 กลุ่มคือ

  • กลุ่มมาตรฐาน(Standard antiepileptic drug) ยกตัวอย่างเช่น เฟนิโทอิน (Phenytoin), ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital), ไพรมิโดน (Primidone), คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine), อีโทซูซิไมด์ (Ethosuximide), วาลโปรเอท (Valproate)  เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้รักษากันมานาน แต่อาจพบอาการข้างเคียงและมีปฏิกิริยาระหว่างยาได้สูง และการปรับขนาดยาของแพทย์สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนค่อนข้างทำได้ยาก
  • กลุ่มใหม่ (New antiepileptic drug) ยกตัวอย่างเช่น ลาโมทริจีน (Lamotrigine), เฟลบาเมท (Felbamate), โทพิราเมท (Topiramate), กาบาเพนติน (Gabapentin), ไทอะกาบิน (Tiagabin)และไวกาบาทริน (Vigabatrin) เป็นต้น กลุ่มยานี้จะมีความปลอดภัยมากกว่ายากลุ่มมาตรฐาน เพราะมีอาการไม่พึงประสงค์จากยาและปฏิกิริยาระหว่างยาน้อยกว่า รวมถึงแพทย์สามารถปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนได้ง่ายกว่า แต่ข้อเสียคือมีราคาค่อนข้างสูงนั่นเองค่ะ

Epidiolex ยาที่ผลิตจากกัญชาอย่างถูกกฎหมาย เพื่อใช้รักษาในผู้ป่วยลมชัก

แต่ผู้ป่วยบางรายนั้น ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์ควบคุมอาการชักได้ยากมาก เนื่องจากมีอาการชักหลายรูปแบบในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป ซึ่ง 2 กลุ่มอาการที่รักษาค่อนข้างยากนี้ ปัจจุบันได้ค้นพบยาใหม่ ซึ่งผลิตจากกัญชา พืชที่เราคุ้นเคยกันดีในอดีตว่าเป็นยาเสพติด

ซึ่งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา The US Department of Justice and the Drug Enforcement Administration ได้จัดประเภทให้  Epidiolex เป็นกลุ่ม Schedule V substance () หรือเป็นการใช้ยาเสพติดที่อาจนำไปสู่การติดยาเสพติดทางจิตหรือทางร่างกายที่ไม่รุนแรง

CSA

ภาพตารางแสดงประเภทความปลอดภัยของสารตั้งต้นในการผลิตยาในสหรัฐอเมริกา(Schedules of controlled substances)

แต่สาร Cannabis หรือ Marijuana ที่อยู่ในกัญชายังคงจัดอยู่ใน Schedule I substances หรือยาที่ไม่มีความปลอดภัยแม้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

Epidiolex ใช้รักษาโรคลมชัก 2 กลุ่มคือ

  1. Dravet syndrome เป็นโรคลมชักชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของยีน SCN1A ทำให้เกิดอาการชักตั้งแต่หกเดือนแรกของชีวิต อาการชักจะมักจะเกิดร่วมกับไข้ มีบางครั้งก็ไม่เกิดร่วมกับไข้ ที่สำคัญคือไข้ชักจะไม่ได้เกี่ยวพันกับการรับรู้และสติปัญญาสักเท่าไร แต่กลุ่มอาการนี้จะมีอาการชักและสติปัญญาด้อยลงด้วย ถือว่าเป็นโรคที่พบยากอันหนึ่ง
  2. Lennox-Gastaut syndrome (LGS) โรคลมชักที่เกิดในวัยเด็ก มักมีอาการในช่วง 2-6 ปี เกิดจากการบาดเจ็บสมองจากสาเหตุใดๆ หรือความผิดปกติจากพันธุกรรมหลายชนิด ก่อให้เกิดอาการชักซ้ำๆบ่อยๆ หลายๆรูปแบบ มีคลื่นไฟฟ้าสมองที่เฉพาะกับ LGS และมีระดับสติปัญญาที่ไม่ดีนัก การรักษานอกเหนือจากการให้ยากันชักแล้ว ยังต้องรักษาต้นเหตุโรค และอาจใช้ steroid ด้วย ถือเป็นโรคที่พบไม่บ่อย

ซึ่ง Justin Gover, CEO ของบริษัท GW Pharmaceuticals ผู้ผลิตยา Epidiolex กล่าวว่า การให้ยา Epidiolex เพิ่มจากการรักษามาตรฐานจะช่วยลดความถี่การชักซ้ำในอาการชักทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้

ขอบคุณภาพจาก https://www.weednews.co/gw-pharmaceuticals-announces-acceptance-of-nda-filing-for-epidiolex/

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น  ง่วงนอน, อยากอาหารลดลง, ท้องเสียหรือเอนไซม์ที่ตับสูงขึ้น เป็นต้น

ซึ่งประเมินค่าใช้จ่ายต่อปีคร่าวๆ น่าจะสูงถึง $32,500 หรือประมาณ หนึ่งล้านกว่าบาทเลยทีเดียว แต่ยาดังกล่าวยังไม่ถูกยอมรับให้ใช้อย่างถูกกฎหมายในไทยนะคะ หากใครมีญาติป่วยเป็นลมชัก 2 กลุ่มที่กล่าวมานี้ อาจต้องบินไปรักษาถึงอเมริกาเลยทีเดียว ที่สำคัญบินไปเฉยๆไม่ได้ ต้องพกเงินไปด้วยนะคะ

หวังว่าอนาคตนักวิจัยเก่งๆของไทยอาจค้นพบยาใหม่ได้เอง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและที่สำคัญรัฐบาลควรให้การสนับสนุนงบประมาณด้วยจะดีมากเลยค่ะ

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : First FDA-approved cannabis-based drug now available in the US

Facebook Comments

You may also like