พอได้ยินคำว่า “อุจจาระ” หลายคนคงร้อง ยี้…. ด้วยความรังเกียจ และหลังจากทำภารกิจเสร็จ น้อยคนนักที่จะสังเกตสีหรือลักษณะอุจจาระของตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่า บางทีสีอุจจาระของคุณอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้
สีอุจจาระปกติ คืออะไร
อุจจาระของคนทั่วไป ปกติมักเป็นสีน้ำตาล น้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลออกเหลือง โดยเป็นสีที่เกิดจากน้ำดีที่เป็นน้ำย่อยอาหารจากตับและจากถุงน้ำดี นอกจากนั้น สีของอุจจาระ ยังขึ้นกับประเภทอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้แต่ยาบางชนิดอีกด้วย
อุจจาระที่ดีควรมีลักษณะนุ่ม ก้อนโต สีเหลืองนวล และไม่มีกลิ่น ซึ่งแสดงว่า กินผักและผลไม้เพียงพอ
ยาที่ทำให้อุจจาระสีเปลี่ยนไป
- ถ่ายสีดำ
- ถ่ายสีน้ำเงิน
- ถ่ายสีน้ำตาลเข้ม
- ถ่ายสีส้มแดง
- ถ่ายสีแดงหรือชมพู
- ถ่ายสีเขียว
- ถ่ายสีเหลืองหรือเหลืองเขียว
- ถ่ายสีเทา
- ถ่ายสีขาว
สีอุจจาระเปลี่ยนไปโดยเกิดจากยา ที่พบบ่อยมักจะเป็น “สีดำ” ซึ่งเป็นสีที่เกิดจากยาบำรุงเลือดเสริมธาตุเหล็กหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ยาเฟอรัส ซัลเฟต(Ferrous sulfate) หรือยาเฟอรัส ฟูมาเรต (Ferrous fumarate)” แต่คนไข้บางคนอาจกังวลกับภาวะดังกล่าว เพราะอาการถ่ายดำอาจมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ยาก็ได้ เช่น อาจเกิดจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ดังนั้นหากพบว่า อาการถ่ายดำไม่ได้มีสาเหตุมาจากกำลังกินยาบำรุงเลือดเสริมธาตุเหล็กอยู่ และไม่ได้กินเลือดหมู ตับหมู ตับวัวร่วมด้วย หรือแม้แต่ ช่วงนั้นไม่ได้เป็นเลือดกำเดาหรือเลือดออกหลังถอนฟัน และอาจมีอาการนานกว่า 3 วัน แนะนำว่าควรไปปรึกษาแพทย์ดีกว่าค่ะ
เรียบเรียงโดย อยู่กับยา
แหล่งที่มา : หาหมอ.com, หมอชาวบ้าน, globalrph.com