คำถามที่มักจะได้ยินจากคนไข้ มะเร็งบ่อยๆ อีกหนึ่งคำถามคือ …
คนไข้มะเร็งทานเนื้อสัตว์ได้มั้ยคะคุณหมอ?
และวันนี้ทีมงานอยู่กับยาจะมาตอบปัญหาดั งกล่าว ให้หายสงสัยไปพร้อมๆกั นเลยค่ะ
จากกรณีศึกษา.. คนไข้รายหนึ่งมาด้วยน้ำหนักต่ำ กว่ามาตรฐาน (BMI=15 kg/m²) เภสัชกรได้ถามคนไข้ว่า “คุณลุงกินอาหารไม่ได้หรอคะ ทำไมน้ำหนักน้อยจัง?” คนไข้และญาติจึงตอบกลับมาว่า “ก็กินได้ปกตินะ แต่น้ำหนักไม่ขึ้นเลย”
คำถามที่หนึ่ง คือ คนไข้รับประทานอาหารได้ “ปกติ” แต่ทำไมน้ำหนักไม่ขึ้น?
คำตอบ เซลล์มะเร็ง จะมีการหลั่งสารต่างๆ ได้แก่ cytokine, hormone, tumor derived factor ซึ่งทำให้เพิ่มขบวนการเผาผลาญ (metabolism) ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งต้ องการสารอาหารที่มีพลั งงานและโปรตีนสูงขึ้นเพื่อให้ เพียงพอต่อความต้องการของร่ างกายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
พูดให้เข้าใจง่าย คือ เซลล์มะเร็งเปรียบเหมือนผู้ร้ ายที่จะไปแย่งอาหารคนไข้รั บประทาน หากมีเซลล์มะเร็งในร่างกาย จากเดิมที่เคยรับประทาน 1 ส่วน และได้พลังงานทั้งหมด อาจต้องแบ่งให้มะเร็งครึ่งหนึ่ง ดังนั้น พลังงานที่ร่างกายได้รับจริงๆ ก็จะไม่เพียงพอ และคำพูดที่คนไข้บอกว่า “กินข้าวได้ปกติ” อาจไม่ใช่คำตอบที่เราต้องการ เพราะความจริงแล้ว คนไข้ควรรับประทานอาหาร “มากกว่าปกติ” พลังงานถึงจะเพียงพอต่อความต้ องการของร่างกาย..
และ คนไข้ได้บอกต่ออีกว่า “ไม่กล้าทานเนื้อสัตว์ เพราะได้ยินคนข้างบ้าน (อีกแล้ว) บอกว่าเนื้อสัตว์จะไปสร้างเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น ทำให้มันแพร่กระจาย เพราะเคยมีคนข้างบ้านทานเนื้อสั ตว์แล้วตาย!”
คำถามที่สอง คือ “แล้วคนข้างบ้าน เขาใช้เนื้อสัตว์ทำอาหารประเภทไหน ถึงรับประทานแล้วแล้วตาย?”
คนไข้ตอบว่า “เห็นว่าเอาไปก้อยกับปิ้ง”
ต้องอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานเนื้อสัตว์กับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งให้ทราบก่อนคือ มีหลายการศึกษา พบความเกี่ยวข้องของเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็งว่า ไม่ใช่เนื้อสัตว์ทุกอย่างที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง แต่เป็นเนื้อแดง คือเนื้อสัตว์ใหญ่และเป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการ เช่น การทำเป็นไส้กรอก การหมัก การดองที่มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดประเภทไนเตรท ไนไตรท์ลงไป
โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน มักจะมี “ดินประสิว” ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า “โปตัสเซียมไนเตรต” เป็นส่วนประกอบในอาหาร ซึ่งสารดังกล่าวนี้จะช่วยคงสภาพให้เนื้อสัตว์มีสีแดงดูน่ารับประทานได้นานกว่าปกติ และมีคุณสมบัติเป็นสารกันบูดเช่นเดียวกับสารกันบูด
ดังนั้น หากร่างกายได้รับอาหารที่มีสารกันบูดเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายหรือเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร หรือลำไส้ใหญ่มากขึ้นด้วย
การนำเนื้อสัตว์ไปปิ้งหรือย่างก่อนรับประทาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งได้
เพราะในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง และรมควันนั้น มีชื่อว่าสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษเป็นสารก่อมะเร็งและลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย จนเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
การเลือกบริโภคเนื้อสัตว์อย่างไร ให้ห่างไกลจากมะเร็ง
- ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ และเนื้อปลา ที่เป็นสีอ่อนมากกว่าสีแดง และในกรณีมีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเล หรือรับประทานให้น้อยลง
- เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หรือเนื้อสัตว์ใหญ่อื่นๆ ยังสามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรเกินสัปดาห์ละ 500 กรัม หรือวันละ 5-6 ช้อนโต๊ะ และอย่าลืมปรุงให้สุกก่อนรับประทานเสมอ
- การปรุงเนื้อสัตว์ ควรรับประทานด้วยการปรุงแบบต้ม หรือนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงการปิ้ง หรือ ย่าง เพราะรอยไหม้จากการปิ้งย่าง สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้
- ควรลดการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน โบโลนา แฮม ลูกชิ้น เป็นต้น เพราะอาจมีสารก่อมะเร็งผสมอยู่
- หากมีอายุมากขึ้น สามารถลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลงไปได้ โดยเน้นผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาจเพิ่มสารอาหารด้วยการรับประทานโปรตีนจากไข่ (ไข่ขาว และไข่แดง วันละ 1-2 ฟอง) หรือจากนม หรือถั่วต่างๆ เป็นต้น
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า.. หากฟังคนข้างบ้าน ก็อยากให้ฟังอย่างละเอียด และถามให้เข้าใจ เพราะฟังแค่บางประโยคอาจได้ ใจความสำคัญมาไม่ครบทั้งหมด และตีความผิดได้ค่ะ ที่สำคัญกว่านั้น ก่อนตัดสินใจเชื่อ ไม่ว่าจะคนข้างบ้าน หลังบ้าน หน้าบ้าน หรือในสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ถ้าไม่มั่นใจให้ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรก่อนจะดีกว่านะคะ
เพราะถ้าคนไข้กังวลมากเกินไป ไม่กล้ารับประทานอะไรเลย โดยเฉพาะโปรตีน ยิ่งจะทำให้น้ำหนักลด และเป็นสาเหตุทำให้คนไข้เสียชีวิตได้จ้า…
เรียบเรียงโดย อยู่กับยา
Facebook Comments