เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ได้อนุมัติให้ Biobeat เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องรัดแขน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว มีทั้งที่เป็น นาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ทวอทช์ และเป็นแบบติดกับผิวหนัง

ขอบคุณภา่พจาก https://www.biobeat.cloud/
มาทำความรู้จักกับบริษัท Biobeat กันก่อนดีกว่า

ขอบคุณภาพจาก https://2017.medinisraelconf.com/list-of-exhibitors-2/
Biobeat เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านชีวการแพทย์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศอิสราเอล มีจำนวนพนักงานในบริษัททั้งสิ้น 15 คน บริษัท Biobeat ได้เริ่มพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้กับผู้ป่วย ด้วยระบบตรวจวัดขั้นสูง มีตลาดทั้งในยุโรป และอิสราเอล ปัจจุบันกำลังขยายตลาดไปที่สหรัฐอเมริกา
Biobeat อุปกรณ์ที่ใช้วัดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องรัดแขน คืออะไร
ความดันโลหิต หรือ Blood pressure เป็นความดันที่เลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ มีค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ ความดันซิสโตลิก (Systolic blood pressure) หรือ แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว และ ความดันไดแอสโตลิก (Diastolic blood pressure) หรือ แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสัญญาณชีพที่สำคัญ

ตัวอย่างเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
Biobeat จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้วัดความดันโลหิตผู้ป่วยในคลินิก โรงพยาบาล ผู้สูงอายุที่ต้องดูแลระยะยาวที่บ้าน มี 2 แบบคือ แบบนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ทวอทช์ และเป็นแบบติดกับผิวหนัง

ขอบคุณภาพจาก tech.ed.tv
Biobeat พัฒนามาจากเทคนิค reflective plethysmography และ เทคนิค Optical เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเลือดที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อของร่างกาย แสดงผลเป็นรูปร่างคลื่นการไหลเวียนโลหิต หลังจากนั้นก็จะแปลผลและแสดงค่าในอุปกรณ์ดังกล่าว

ขอบคุณภาพจาก https://medlineplus.gov/ency/imagepages/9748.htm

ขอบคุณภาพจาก tech.ed.tv
นอกจากจะสามารถวัดความดันโลหิตแบบ real time ได้แล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ยังสามารถวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด และวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถใช้คู่กับสมาร์ตโฟน, iPad หรือ iPod touch เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Biobeat App เพื่อใช้บันทึกข้อมูลสุขภาพในแต่ละวัน ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลย้อนหลังหรือดูแนวโน้มสุขภาพได้สะดวกและง่ายขึ้น
Biobeat ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่น่าสนใจมากอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ดังกล่าว อาจเป็นเพียงตัวช่วยเตือนและวินิจฉัยปัญหาสุขภาพเบื้องต้นเท่านั้น หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยจะดีกว่าค่ะ
แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา
แหล่งที่มา : Medgadget, PR Newswire