เคยมั้ย? ที่กลัวเวลาต้องสื่อสารหรือคุยกับคนไข้ชาวต่างชาติ
ในยุค AEC แบบนี้ เชื่อว่าหลายคนที่เป็นบุคลาการทางการแพทย์คงเคยเจอปัญหาการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกับคนไข้ชาวต่างชาติ กว่าจะสื่อสารกันรู้เรื่อง ก็เล่นเอาเมื่อยมือไปหมด ฮ่า ๆ…
แอดมินเป็นคนหนึ่งที่มีประสบการณ์การสื่อสารกับคนไข้เขมรไม่รู้เรื่องค่ะ แต่ทำยังไงได้ เมื่อเรามีหน้าที่ดูแลคนไข้ ก็ต้องหาวิธีที่จะสื่อสารกับเขาให้เข้าใจให้ได้ ทั้งใช้พจนานุกรมแปลภาษา ทั้งดูคลิปในยูทูป ถามเพื่อนที่พอจะรู้เรื่องภาษาเขมรบ้าง สุดท้ายด้วยความพยายามที่จะช่วยเหลือคนไข้ ก็สื่อสารกันจนเข้าใจ ถึงแม้ว่าอาจจะเข้าใจกันได้ไม่ทุกคำ แต่ก็พอจะรู้เรื่องว่าเขาต้องการสื่ออะไร มีอาการเจ็บป่วยตรงไหนบ้าง
สิ่งที่ตอบแทนความพยายาม ที่ได้รับกลับมานั่นก็คือ “ความภูมิใจ” ที่เราสามารถช่วยให้เขาอาการดีขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะเกิดมาคนละเชื้อชาติกันก็ตาม
และวันนี้แอดมินมีวิธีช่วยให้การสื่อสารกับชาวต่างชาติที่มารับบริการในโรงพยาบาล ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป มาฝากกันค่ะ
คู่มือการใช้ภาษาอังกฤษ ไทย พม่า เขมร เอาไว้ใช้ในโรงพยาบาล
คู่มือการใช้ภาษา ไทย – อังกฤษ – พม่า – เขมรสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการให้บริการสุขภาพแก่ประชากรต่างด้าว จัดทำโดยสํานักบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับได้มีการพัฒนาทักษะด้านภาษาท่ีใช้กันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านท่ีมีอาณาเขตติดต่อกับแนวตะเข็บชายแดนไทย ได้แก่ กัมพูชา ลาว เขมร และพม่า ซึ่งเข้ามารับบริการตรวจรักษาสุขภาพในหน่วยบริการของไทย อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
คู่มือการใช้ภาษาอังกฤษ ไทย พม่า เขมร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ภายในคู่มือจะประกอบไปด้วยหมวดต่างๆที่จำเป็นต้องใช้สื่อสารในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 31 หมวดด้วยกัน ดังนี้
- คําทักทาย
- เครือญาติ
- การซักประวัติ
- จํานวนนับ
- หน่วยนับ / หน่วยเรียก
- วันและเวลา
- เดือนปี
- สี
- อวัยวะภายนอก
- อวัยวะภายใน
- ระบบทางเดินหายใจ
- ระบบทางเดินอาหาร
- ระบบโครงกระดูก
- ระบบปัสสาวะ
- ระบบกล้ามเน้ือ
- ระบบประสาท
- ระบบต่อมไร้ท่อ
- ระบบไหลเวียนโลหิต
- ระบบสืบพันธุ์
- การตรวจร่างกาย
- การรับประทานยา
- การฉีดยา/ฉีดวัคซีน
- อาการแพ้ยา
- การรักษาสุขอนามัย
- คําาแนะนําการทําแผลด้วยตนเอง
- การหยอดตา
- คําแนะนําาในการป้องกันโรค
- การปฏิบัติตัวท่ีห้อง X-Ray
- กายภาพบําบัด
- การฝากครรภ์
- การคลอด
ใครสนใจสามารถดาวน์โหลดฟรีกันได้ที่นี่
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรการแพทย์หรือประชาชนทั่วไปที่จะใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติในโรงพยาบาลกันนะคะ
เรียบเรียงโดย อยู่กับยา
แหล่งที่มา : สํานักบริหารการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข