3D Pen ปากกามหัศจรรย์ช่วยเด็กตาบอดให้วาดภาพได้

โดย Boontharika Boonchaisaen
Special 3d Pen

โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งหนึ่งในรัฐเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ได้ทดลองนำปากกา 3 มิติมาใช้ เพื่อให้เด็กๆที่นั่น มีโอกาสสร้างงานศิลปะเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป หนึ่งในงานวิจัยของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศอังกฤษ โดยร่วมมือกับบริษัทที่ผลิตปากกามหัศจรรย์ หรือปากกา 3 มิติด้ามแรกของโลก ที่ชื่อว่า “3Doodler” นำมาให้เด็กตาบอดหรือเด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น ได้ทดลองใช้เพื่อสร้างจินตนาการในการวาดภาพ

เมื่อภาพของคุณ จะไม่อยู่เพียงแค่ในกระดาษอีกต่อไป เพราะคุณจะวาดภาพได้ แม้ว่าตามองไม่เห็น ด้วยปากกามหัศจรรย์แท่งนี้ 3Doodler

3Doodler คืออะไร?

ปากกาวาดรูป 3 มิติ 3doodler

คือปากกาวาดภาพ 3 มิติด้ามแรกของโลก ใช้พลาสติก ABS แทนน้ำหมึก ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั่วไป

วิธีใช้ปากกา 3Doodler

3doodler 2

(พลาสติก ABS)

นำปากกา 3Doodler วาดลงไปบนอากาศหรือพื้นผิวต่างๆ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดๆ แค่เสียบปลั๊กก็ลงมือสร้างงานศิลปะได้ทันที ในขณะที่กำลังวาดภาพปากกา 3Doodler ก็จะปล่อยพลาสติกที่ได้รับความร้อนออกมาคล้ายกับปากกาที่ปล่อยน้ำหมึก แลหลังจากพลาสติก ABS ออกมาจากปากกาก็จะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและแข็งตัวกลายเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ทำให้คุณสามารถสร้างวัตถุเป็นรูปทรงต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย

3doodler 1

แต่มีข้อควรระวังคือ ปากกา 3 มิติด้ามนี้ไม่ใช่ของเล่นเด็ก และควรใช้ในเด็กที่อายุไม่ต่ำกว่า 12 ปีนะคะ

เด็กตาบอดคนหนึ่งที่มีโอกาสลองใช้ปากกา 3 มิติด้ามนี้ ได้อธิบายถึงความรู้สึกหลังใช้ว่า…

3dpens

เขารู้สึกเหมือนจินตนาการได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในแผ่นกระดาษ เพราะปกติถ้าเขาวาดภาพในกระดาษ เขาไม่สามารถสัมผัสด้วยมือได้ เขาต้องอาศัยการถามจากเพื่อนคนอื่นหรืออาจารย์ของเขาแทน ว่ามันคือภาพอะไร แต่หลังจากเขาได้ใช้ปากกา 3 มิติด้ามนี้ เขาสามารถสัมผัสมันด้วยตัวเขาเอง และสร้างผลงานศิลปะจากจิตนาการของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อหรืออาศัยการมองเห็นจากสายตาคนอื่น

3doolersผู้ปกครองบางท่านอาจมองว่า ศิลปะเป็นเรื่องเสียเวลาและไร้สาระสำหรับเด็กๆ แต่อย่าลืมว่า นักวิทยศาสตร์ดังๆระดับโลกหลายคนก็เริ่มต้นมาจาก “จินตนาการ” กันทั้งนั้น ขอบคุณเทคโนโลยีดีๆที่ออกแบบมาเพื่อให้โอกาสเด็กพิการได้ใช้ชีวิตอย่างเด็กปกติอีกครั้งค่ะ

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : BBC News, Kickstarter

Facebook Comments

You may also like