หน่วยงานสาธารณสุขฝรั่งเศสเตือนยาต้านการอักเสบ(Anti-inflammatory drugs) อาจทำให้อาการของโรคโควิด-19แย่ลง

โดย Boontharika Boonchaisaen

เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ Medscape รายงานว่า หน่วยงานสาธารณสุขฝรั่งเศสเตือนยาต้านการอักเสบ(Anti-inflammatory drugs) หรือยากลุ่ม NSAIDs (์Nonsteroidal anti-inflammatory drugs) ยกตัวอย่างเช่น ยา Ibuprofen อาจทำให้อาการของโรคโควิด-19 แย่ลง และแนะนำว่า ควรใช้ยา Acetaminophen หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ พาราเซตามอล ในการรักษาแทน

แต่ก็ยังมีแพทย์บางกลุ่มได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านทางโซเชียลมีเดียว่า ไม่เห็นด้วยกับสมมติฐานข้างต้น เนื่องจากยังมีหลักฐานทางวิชาการที่ไม่เพียงพอ

Ibuprofen

เช่นเดียวกันกับ Reckitt Benckiser Group plc (RB) บริษัทเจ้าของแบรนด์ Nurofen (ขื่อการค้าของยา Ibuprofen) ที่เห็นว่าการใช้ Ibuprofen และ Paracetamol เพื่อรักษาอาการของโรคโควิด-19 ยังคงเป็นคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขในยุโรป

ศาสตราจารย์ Gregory A. Poland แพทย์ชาวอเมริกันและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน ได้อธิบายว่า…

การใช้ ยากลุ่ม NSAIDs ยังคงแนะนำให้ใช้เพื่อรักษาอาการไข้ ซึงเป็นหนึ่งในอาการของผู้ติดเชื้อไวรัส Influenza เช่นเดียวกับเชื้อ COVID-19 แต่ควรระวังในผู้ป่วยกลุ่มสูงอายุ เนื่องจากผุ้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีโรคร่วมอย่างอื่น เช่น ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยา Ibuprofen ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารและไต ดังนั้น ควรพิจารณาใช้ในผู้ป่วยเป็นรายๆไป แต่ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินเหตุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่เพียงพอ”

Ibuprofen หรือยากลุ่ม NSAIDs สัมพันธ์อย่างไร กับการทำให้อาการของโรคโควิด-19 แย่ลง

สมมติฐานนี้มีที่มาจากวารสาร The Lancet ซึ่งได้ตีพิมพ์เรื่อง Are patients with hypertension and diabetes mellitus at increased risk for COVID-19 infection?

ในวารสาร ได้อธิบายถึงกลไกการแพร่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ว่า…

เชื้อไวรัสโควิด-19ต้องอาศัย ACE2-receptor (Angiotensin Converting Enzyme 2 receptor) ในการจับเเละนำพาตัวเชื้อเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ ซึ่ง ACE2 นั้นเป็นโปรตีนที่สำคัญในร่างกาย อยู่บน Epithelial cells ของปอด, ลำไส้, ไตและหลอดเลือด

ขอบคุณภาพจาก https://www.kidney-international.org/article/S0085-2538(15)55542-7/fulltext

ภาพการทำงานของ ACE2 แหล่งที่มา : https://diabetes.diabetesjournals.org/content/59/12/2994

โดย ACE2 จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเนื่องจากผุ้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม ACEIs (ACE inhibitors) และ ARBs (Angiotensin II type-I receptor blockers) ในการรักษา ซึ่งยาทัั้ง 2 กลุ่มนี้ทำให้กลไกของโปรตีน ACE เสียสมดุล ร่างกายจึงตอบสนองในทางตรงกันข้าม ด้วยการเพิ่มจำนวน ACE2-receptor เพื่อจะรักษาสมดุลของร่างกาย จึงอาจเป็นผลทำให้อาการของของโรคโควิด-19 แย่ลงได้(ตามภาพกลไกด้านล่าง)

กลไกการทำงานของยา ACEIs และ ARBs แหล่งที่มา : https://www.uspharmacist.com/article/cross-reactivity-of-ace-inhibitorinduced-angioedema-with-arbs

และนอกจากนี้ สมมติฐานดังกล่าวยังสัมพันธ์กับกลไกการทำงานของยา NSAIDs (ตามภาพกลไกด้านล่าง) ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวน ACE2-receptor  ด้วยเช่นกัน จึงอาจเป็นไปได้ว่า Ibuprofen หรือยากลุ่ม NSAIDs อาจทำให้อาการของโรคโควิด-19 แย่ลงได้

ภาพกลไกการทำงานของยา NSAIDs ที่มีต่อไต ขอบคุณภาพจาก https://www.researchgate.net/figure/Non-steroidal-anti-inflammatory-drugs-NSAIDs-in-at-risk-patients-with-decreased-renal_fig1_259883864

ข่าวลือ.. องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกคำแนะนำอย่างเป็นทางการ ให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดไข้และแก้อักเสบไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

จากกรณีที่หน่วยงานสาธารณสุขฝรั่งเศสออกมาเตือนเรื่อง ยา Ibuprofen อาจทำให้อาการของโรคโควิด-19 แย่ลง เว็บไซต์ Sciencealert อ้างถึง โฆษกขององค์การอนามัยโลกจึงแถลงที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ว่า…

แม้จะยังไม่มีหลักฐานจากการศึกษาทดลองโดยตรงว่ายาไอบูโพรเฟนเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 จริงหรือไม่ แต่เพื่อความปลอดภัยจึงขอให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวไปก่อน ในระหว่างที่องค์การอนามัยโลกกำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่

ดังนั้น ถึงแม้สมมติฐานนี้อาจยังเป็นข้อถกเถียงกันในวงการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุและมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยา Ibuprofen หรือยากลุ่ม NSAIDs รับประทานเอง และที่สำคัญควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่าค่ะ

แปลและเรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : BBC NewsResearchgate, Sciencealert, The Lancet 

Facebook Comments

You may also like