รู้หรือไม่? วัคซีนไข้สมองอักเสบกับวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่เหมือนกัน

โดย Boontharika Boonchaisaen
Je Vaccine Vs Hib Vaccine

วันก่อนมีพี่สาวที่รู้จักกันโทรมาปรึกษาว่ากำลังจะพาลูกไปฉีดวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ก่อนหน้านั้นเคยฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบไปแล้ว ไม่มั่นใจว่า วัคซีนทั้งสองตัวนี้เหมือนหรือต่างกัน? เชื่อแน่ว่า อาจจะมีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่น่าจะสับสนกับชื่อเรียกของวัคซีน 2 ชนิดนี้กันอยู่ วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าค่ะ…

วัคซีนไข้สมองอักเสบคืออะไร?

Mosquitoวัคซีนไข้สมองอักเสบ หรือ วัคซีน JE (Japanese Encephalitis Vaccine) เป็นวัคซีนผลิตได้จากเชื้อไวรัส สามารถฉีดให้แก่เด็กอายุตั้งแต่ 2 เดือนถึง 3 ปี เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มเฉพาะต่อการเกิดโรคไข้สมองอักเสบ

วัคซีนไข้สมองอักเสบมี 2 ชนิด คือ

  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (kill or inactivate JE vaccine) ผลผลิตได้จาการเลี้ยงเชื้อไวรัสในโฮสต์เช่น หนู แล้วฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี ได้แก่

ชนิดเพาะเลี้ยงเชื้อในสมองหนู (Inactivated Mouse Brain JEV) เป็นวัคซีนที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และอยู่ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยอีกด้วย มีรูปแบบเภสัชภัณฑ์ทั้งชนิดน้ำ และชนิดผงแห้ง (Lyophilized) โดยได้เชื้อไวรัสโรคนี้มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์นาคายาม่า (Nakayama) และสายพันธุ์ปักกิ่ง (Beijing)

ชนิดเพาะเลี้ยงเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส(Inactivated cell culture-derived JEV) จากเชื้อไวรัสโรคนี้ สายพันธุ์ SA14-14-2

  • วัคซีนชนิดมีชีวิตแต่อ่อนฤทธิ์ (live or attenuated JE vaccine) เป็นการนำเชื้อไวรัสเชื้อนี้มาทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังคงความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ โดยใช้เชื้อไวรัสโรคนี้สายพันธุ์ SA14-14-2 ในการเพาะเลี้ยงและผลิตวัคซีน ซึ่งวัคซีนชนิดมีชีวิตนี้จะมีประสิทธิภาพการป้องกันโรคไข้สมองอักเสบได้มากกว่าชนิดเชื้อตาย เพราะเกิดการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิต ทำให้ร่างกายตอบสนอง และสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Japanese Encephalitis

ขอบคุณภาพจาก http://www.thehealthsite.com

ขนาดและวิธีใช้ 

ขนาดและวิธีใช้ JE Vaccine

ขนาดและวิธีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี

หมายเหตุ :

  1. *อาจพิจารณาฉีดกระตุ้นซ้ำอีก 1โดส โดยให้โดสที่4 ห่างจากโดสที่ 3 อย่างน้อย 3-5 ปี ไม่ควรให้เกิน 5 โดสตลอดชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงทางระบบประสาท
  2. วัคซีนชนิด Nakayama และ Beijing สามารถใช้ทดแทนกันได้
  3. วัคซีนชนิดเชื้อตายที่เพาะเลี้ยงในสมองหนู สำหรับในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ฉีดครั้งละครึ่งหนึ่งของปริมาตรปกติ คือ 0.25 มิลลิลิตรต่อครั้ง

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร?

Thaihealth

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือวัคซีน HIB เป็นวัคซีนชนิดพอลิแซ็กคาไรด์หรือกลุ่มสารคาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่ในรูปแคปซูล โดยมีเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus influenze type B (ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี) ที่อ่อนแรงจนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่มีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อยู่ สามารถฉีดให้แก่เด็กอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึงมากกว่า 2 ปี

วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Haemophilus influenze type B ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจ และ ปอดอักเสบ แต่ในเด็กเล็กบางครั้งทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งค่อนข้างรุนแรงได้

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือวัคซีนฮิบท่ีมีใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ

  • วัคซีนฮิบที่ใช้เททานัสทอกซอยด์(Tetanus toxoid) หรือโปรตีนของวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคบาดทะยักเป็นโปรตีนพาหะ (PRP-Chemistry Conjugated to Tetanus Toxoid ย่อว่า PRP-T) เช่นวัคซีน Hiberix (ไฮเบอริกซ์), Act-HIB (แอก-ฮิบ) เป็นต้น
  • วัคซีนฮิบที่ใช้เยื่อหุ้มโปรตีนส่วนนอกของเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย มีนิงไจทิดิส(Neisseria/N. meningitidis) เป็นโปรตีนพาหะ (PRP conjugated to an outer-membrane protein complex of N. meningitides; PRP-OMP) ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
  • วัคซีนฮิบชนิดโอลิโกแซ็กคาไรด์ (Haemophilus b oligosaccharide conjugate vaccine; HbOC) เช่นวัคซีน Quinvaxem (ควินวาเซ็ม)

วัคซีนฮิบที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีทั้งในรูปวัคซีนรวมและแยกเดี่ยว ที่เป็นวัคซีนรวมจะนํามารวมกับวัคซีน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนตับอักเสบบี และวัคซีน โปลิโอชนิดฉีด

Sp Tetract Hib 10 Dose Container Image 580

ขอบคุณภาพจาก http://www.who.int

ขนาดและวิธีใช้ 

แนะนำการฉีดวัคซีนฮิบ

ตารางแนะนำการฉีดวัคซีนฮิบ (HIB) ในเด็ก

หมายเหตุ*: 

  1. เด็กท่ีเสี่ยงต่อการติดเชื้อฮิบชนิดรุนแรง เช่น ธาลัสซีเมีย ผู้ท่ีไม่มีม้าม ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กําเนิด หรือเป็นภายหลัง (con- genital or acquired immunodeficiency) ควรได้รับวัคซีนเหมือนเด็กปกติ และควรฉีดกระตุ้นอีก 1 โดส เมื่ออายุประมาณ 18 เดือน โดยต้องห่างจากโดสล่าสุดอย่างน้อย 2 เดือน
  2. กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แม้ว่าอายุมากกว่า 2 ปีก็ควรได้วัคซีน 2 โดส ห่างกันอย่างน้อย 2 เดือน
  3. สําหรับผู้ท่ีจะทําการตัดม้ามควรฉีดวัคซีน 1 โดสก่อนตัดม้ามอย่างน้อย 7-10 วัน
  4. ผู้ท่ีได้รับยาเคมีบําบัด อาจให้วัคซีนนี้ซ้ำอีก 1 โดสหลังจากหยุดยาเคมีบําบัดอย่างน้อย 3 เดือน

สรุปแล้ว… วัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้อาจจะชื่อคล้ายกัน แต่ย้ำว่าคนละชนิดกันนะคะ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อย่าลืมพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนตามอายุในสมุดวัคซีน ซึ่งเป็นวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับนะคะ เพราะการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ลูกน้อยของท่านได้ค่ะ

family

เรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา :  ตำราวัคซีน สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

Facebook Comments

You may also like