นักวิจัยพบ “การงีบพักระหว่างวัน” มีผลลด “ความดันเลือด” ได้จริง

โดย Pong Jira

“การงีบพักระหว่างวัน” นอกจากจะช่วยฟื้นฟูพลังงาน และอารมณ์ ในการใช้ชีวิตและการทำงานได้แล้ว นักวิจัยแห่ง American College of Cardiology ยังพบว่า “ผู้ที่งีบพักระหว่างวันจะมีความดันเลือดลดต่ำลงกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบพักระหว่างวันอีกด้วย”

โดยงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 212 ราย มีค่าเฉลี่ยความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว (ความดันตัวบน) 129.9 mmHg อายุเฉลี่ยที่ 62 ปี และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเป็นเพศหญิง ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมดมีการสูบ และ/หรือ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

ในการศึกษานักวิจัยจะมีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความดันเลือด แก่ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จะได้งีบพักระหว่างวัน และกลุ่มที่ไม่ได้งีบพักระหว่างวัน ได้แก่ อายุ, เพศ, พฤติกรรมการใช้ชีวิต, ยาลดความดันเลือดที่ผู้ป่วยได้รับ รวมถึงความเสี่ยงเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้มีความไม่แตกต่างกัน เพื่อลดผลการของความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ทดลอง

นักวิจัยจะมีการวัดและจดบันทึกความดันเลือดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยให้ผู้ป่วยสวมเครื่องวัดความดันเลือด และมีการวัดเป็นระยะๆ ร่วมกับวัดความเร็วคลื่นชีพจรที่ผ่านหลอดเลือด (Pulse Wave Velocity) และความตึงตัวของหลอดเลือด (stiffness in the arteries)

โดยผู้ป่วยจะมีการได้รับการงีบพักระหว่างวัน (ในกลุ่มทดลอง) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเวลาการงีบพักอยู่ที่ 49 นาที ร่วมกับมีการปรับพฤติกรรมร่วมด้วยทั้ง 2 กลุ่ม เช่น การกำจัดการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ เกลือ และการออกกำลังกาย

จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวใน 24 ชั่วโมง ของกลุ่มที่มีการงีบพักระหว่างวันต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้งีบพัก 5.33 mmHg (127.6 mmHg และ 132.9 mmHg) และเมื่อพิจารณาถึงค่าความดันขณะหัวใจคลายตัวร่วมด้วย ก็พบว่ากลุ่มที่มีการนงีบพักระหว่างวัน จะมีค่าเฉลี่ยความดันเลือดใน 24 ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้งีบพัก (128.7/76.2 mmHg และ 134.5/79.5 mmHg) เช่นเดียวกัน

เมื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาวิเคราะห์พบว่า ค่าความดันเลือดและการงีบพักระหว่างวัน มีความสัมพันธ์กันแบบเส้นตรง โดยที่การงีบพักระหว่างวันประมาณ 1 ชั่วโมง จะช่วยลดค่าเฉลี่ยความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวใน 24 ชั่วโมง ได้ประมาณ 3 mmHg ผลการศึกษานี้มีผลอย่างมากเนื่องจากตามทฤษฎี เนื่องจาก หากผู้ป่วยสามารถลดความดันเลือดได้ 2 mmHg จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 10%

นักวิจัยได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า

“การงีบพักระหว่างวัน ควรเป็นอีก 1 คำแนะนำ ในเรื่องการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันสูง เพราะมีผลช่วยลดความดันเลือดได้จริง ส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้”

และ

“เราไม่ได้ต้องการส่งเสริมให้มีการงีบพักระหว่างวันหลายๆ ชั่วโมง แต่ก็ไม่ควรจะรู้สึกผิด เพราะถ้าเราได้งีบพักเป็นเวลาสั้นๆ มันก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราเช่นกัน”

*** หมายเหตุ: ผลการศึกษานี้เป็นการศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันสูง ที่ได้รับยาลดความดัน ร่วมกับปรับปรุงพฤติกรรมร่วมด้วยอย่างเหมาะสม ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักวิจัย

แปลและเรียบเรียงโดย : อยู่กับยา

แหล่งข้อมูล : ACC: A Nap a Day Keeps High Blood Pressure at BayScienceDaily: A nap a day keeps high blood pressure at bay

Facebook Comments

You may also like