ย้อนไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วสมัยยังเป็นนักศึกษาเภสัช แอดมินได้มีโอกาสไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น และรู้สึกประทับใจทั้งผู้คน สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของประเทศนี้มาก และวันนี้ก็ได้มีโอกาสกลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง จึงไม่พลาดที่จะนำรูปภาพและเรื่องน่ารู้ที่น่ารักของร้านยาในญี่ปุ่นมาฝากเพื่อนๆกันค่ะ
เภสัชกร
-
-
นอกจากการจ่ายยาแล้ว.. อีกหนึ่งบทบาทของเภสัชกร คือ ช่วยแพทย์หรือพยาบาลค้นหา “DRP, Drug Related Problems” หรือ ปัญหาที่เกี่ยวกับยา และปัญหาที่คุ้นเคยของเภสัชกรที่มักจะได้ค้นหานั่นก็คือ คนไข้กินยาตรงตามแพทย์สั่งหรือไม่? นอกจาการนับเม็ดยาเพื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของคนไข้แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยสังเกตหรือดูว่าคนไข้พูดความจริงหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนที่บอกว่า กินยาทุกวันตามแพทย์สั่ง แต่ความจริงแล้วไม่ได้กินก็มี นั่นคือ “การสังเกตสีของปัสสาวะคนไข้ค่ะ” เพราะสีของปัสสาวะ…
-
“อะไรนะ พรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้าไปผสมยา แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว เฮ้อ..” เดี๋ยวก่อนนะคะ ผสมยาที่ว่านี้ไม่ใช่เอายาแต่ละตัวเทลงหม้อ แล้วคลุกๆ เหมือนผสมอาหารนะ ฮ่าๆ แต่มันคือการ “เตรียมผสมยาเคมีบำบัด หรือ ที่หลายคนรู้จักกันว่า ยารักษามะเร็ง” นั่นเองค่ะ ก่อนที่จะเล่าต่อ ขอเกริ่นความหมายของยามะเร็งให้ฟังกันก่อน เผื่อมีคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้วงงว่ามันคือยาอะไร?
-
อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยเวลาขึ้นไปคุยกับคนไข้บนหอผู้ป่วยคือ คนไข้ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการนำยาโรคประจำตัวเดิม หรือพกสมุดประจำตัวมาโรงพยาบาลด้วย หรืออาจจะพกมา แต่นำยามาไม่ครบทุกตัว หรือแม้แต่นำมาทุกตัวแต่แบ่งมาตัวละแผง สองแผงก็มี ซึ่งหากคนไข้ไม่เห็นความสำคัญหรือใส่ใจ แน่นอนว่าปัญหาต่างๆอาจเกิดตามมาได้อย่างแน่นอน ดังกรณีศึกษาที่จะยกตัวอย่างให้ฟังต่อไปนี้..
-
วันนี้ มีอุทาหรณ์สอนใจสำหรับบ้านหลังไหนที่มีเด็กเล็กอยู่ในครอบครัว เรื่องที่หลายครอบครัวอาจจะมองข้ามหรือคาดไม่ถึงว่ามันจะเกิดขึ้น และลืมไปว่า มันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนกับกรณีศึกษาที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ค่ะ
-
“คุณหมอ วันนี้ไม่หยุดหรอคะ?” เสียงแม่ค้าหน้าโรงพยาบาลตะโกนทักทายฉัน แล้ววันนี้มันวันอะไร ทำไมถึงต้องหยุด (ฉันคิดในใจ) อ่อ วันนี้วันอาทิตย์ .. วันพักผ่อนของใครหลายๆคน แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้พักผ่อน หนึ่งในนั้น นั่นคือ ฉันเอง 🙂
-
คงมีคนสงสัยว่าทำไมถึงต้องมีเภสัชกรประจำหอผู้ป่วย? จริงๆ แค่มีหมอกับพยาบาล ก็น่าจะพอแล้ว? แต่ไม่ว่าอาชีพเราจะไปอยู่จุดไหนก็รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาและอุปสรรคของคนภายนอกที่มองไปเสียหมด –“
-
ใครบอกว่าอาชีพ “หมอยา” เป็นอาชีพที่สบาย นั่งหน้าสวย ในห้องแอร์ ยื่นยาให้คนไข้ แล้วก็ได้เงินเดือนมาใช้ไม่เห็นจะเหนื่อยตรงไหน นั่นแปลว่า คุณไม่รู้จักอาชีพของเราดีพอ