กิน ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen) ในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

โดย Boontharika Boonchaisaen
Ibuprofenandheart

เวลาปวดหัว ปวดขา ปวดหลัง ยาตัวแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะหนีไม่พ้น “ยาพาราเซตามอล” แล้วถ้าหากกินพาราเซตามอลไม่หายจะทำไงดี? แพทย์ก็จะสั่งยาอีกกลุ่มให้นั่นก็คือ “ยากลุ่มแก้ปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs )” เช่น ไอบรูโพเฟน ไดโคลฟีแนค หรือแม้แต่เซเลเบรค ซึ่งแพทย์อาจจะสั่งให้กินครั้ง 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

Ibuprofen

แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีงานวิจัยรายงานว่า การกินยาแก้ปวดในขนาดสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้… แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับยาแก้ปวดกลุ่มนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ

กลุ่มยาแก้ปวด NSAIDs คืออะไร?

Nsaids

ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ Non-steroidal Anti-inflammatory drugs เรียกกันสั้นๆว่า“ยาNSAIDs” เป็นกลุ่มยากลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ใช้กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์ เช่น ใช้รักษาโรคข้ออักเสบต่างๆ โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์ ปวดศีรษะไมเกรน และ อาการปวดกระดูกจากโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระดูก เป็นต้น

ยา NSAIDs ที่เรารู้จักกันดี ยกตัวอย่างเช่น แอสไพริน (Aspirin), ไอบรูโปรเฟน (Ibuprofen),นาโปรเซน (Naproxen), อินโดเมธาซิน (Indomethacin), อีโตริคอกซิบ (Etoricoxib หรือ อาร์โคเซีย/Arcoxia), และเซเลโคซิบ (Celecoxib หรือ เซเลเบรก/Celebrex)

ยา NSAIDs เป็นยาอันตราย เพื่อความปลอดภัย จึงไม่ควรซื้อกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

กลไกการออกฤทธิ์ของ NSAIDs

พบว่าเมื่อเน้ือเยื่อของร่างกายได้รับการบาดเจ็บจะเกิดการสร้าง arachidonic acid ข้ึนมาจาก membrane phospholipids โดยอาศัยเอนไซม์ phospholipase A2 แล้ว arachidonic acid ก็จะถูกเอนไซม์ cyclooxygenase (COX)และlipoxygenase(LOX)เปลี่ยนไปเป็นprostaglandins(PG)และleukotrienes(LT)ตามลำดับ

Mechanism of action

ขอบคุณภาพจากmedscape.com

เนื่องจาก prostaglandins มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบทำให้เกิดอาการปวดและอาการไข้ ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase จะส่งผลให้การสร้าง prostaglandins ลดลง ยา NSAIDs จึงช่วยแก้ปวด ลดไข้ และยับยั้งการอักเสบได้นั่นเองค่ะ

ผลข้างเคียงของยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

  • ระคายเคืองและก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ การกินยา NSAIDs จึงต้องกินหลังอาหารทันทีหรือดื่มน้ำตามมากๆ และบ่อยครั้งที่แพทย์มักให้กินคู่กับยาเคลือบกระเพาะอาหาร
  • ระวังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพราะยา NSAIDs อาจต้านฤทธิ์ยาที่ใช้ลดความดันโลหิต
  • ระวังผู้ป่วยโรคไตเพราะยา NSAIDs จะส่งผลต่อการทำงานของไต
  • ไม่ควรกินในระหว่างตั้งครรภ์เพราะอาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกำหนดได้

การกินยา NSAIDs ในขนาดสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้จริงหรือ?

BMJ

มีงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร BMJ ได้ศึกษาในกลุ่มประชากรจำนวน 446,763 คนในแคนาดา สหราชอาณาจักร และฟินแลนด์ เกี่ยวกับปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจของยา NSAIDs โดยการศึกษามุ่งเน้นไปที่ผู้ได้รับใบสั่งยาจากแพทย์มากกว่าผู้ที่ซื้อยากินเองจากร้านขายยา

ผลการศึกษา

Result

พบว่า ผู้ที่กินยา NSAIDs ในขนาดสูง คือ กินไอบรูโพรเฟนมากกว่า 1200 มิลลิกรัมต่อวัน , นาโปรเซนมากกว่า 750 มิลลิกรัมต่อวันและเซเลโคซิบมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 1 อาทิตย์ถึง 1 เดือน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยชี้ว่า ผลการศึกษาที่ได้ครั้งนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะอาจมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โรคอ้วน ทำให้เป็นการยากที่จะบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงข้อสันนิษฐานเรื่องความเกี่ยวโยงนี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://www.bmj.com/content/357/bmj.j1909

ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ จะต้องใช้ยา NSAID อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว (Heart failure) รุนแรงไม่ควรใช้ยาประเภทนี้

Celebrex

เรียบเรียงโดย อยู่กับยา

แหล่งที่มา : หาหมอ.com , คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี , BBC Thai 

 

Facebook Comments

You may also like